เมื่อเราตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง แน่นอนว่าบ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาแพง ดังนั้นหลายคนที่ต้องการซื้อบ้านจึงจำเป็นจะต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำเงินมาซื้อบ้าน การเลือกกู้เงินจากธนาคารจำเป็นที่จะต้องพิจารณาจากหลายส่วนเปรียบเทียบกันหลายๆธนาคารโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อ เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดและมีความซับซ้อนกว่าสินเชื่อบัตรกดเงินสดมากๆ
โดยปกติดอกเบี้ยบ้านที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ 2 แบบคืออัตราดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ (Fixed Rate) และอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว (Floating Rate) ถ้าเลือกจ่ายแบบดอกเบี้ยบ้านคงที่ ผู้กู้ก็จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยบ้านในจำนวนเท่าๆกันในทุกๆเดือนตลอดทั้งสัญญา และหากเลือกชำระดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัวก็จะต้องชำระเงินค่าดอกเบี้ยบ้านขึ้นอยู่กับค่า MRR ,MLR, MOR ของธนาคาร ณ ช่วงเวลานั้นๆ
ในช่วงสามปีแรกของการจ่ายดอกเบี้ยบ้านก็มักจะได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ในช่วงสามปีแรกไม่สูงมาก แต่เมื่อผ่านสามปีแรกไปแล้วอัตราดอกเบี้ยก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นปกติ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการรีไฟแนนซ์ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่ารีไฟแนนซ์กันบ่อยๆ เช่น รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์รถยนต์ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่าการรีไฟแนนซ์คืออะไรและทำเพื่ออะไร การรีไฟแนนซ์บ้านมีประโยชน์อย่างไรวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
คำว่า “รีไฟแนนซ์” หมายถึง การขอสินเชื่อใหม่โดยการเปลี่ยนธนาคารเพื่อลดภาระดอกเบี้ย ยกตัวอย่างเช่น นายเอกู้สินเชื่อบ้านจากธนาคาร ก. ผ่านมาสามปีอัตราดอกเบี้ยบ้านได้มีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นนายเอจึงทำการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านกับธนาคาร ข. เพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้านให้ถูกลงกว่าธนาคารแรก เป็นต้น หรือถ้าเราจะเปรียบเทียบให้ง่ายกว่าเดิม ก็เปรียบเหมือนว่าเราใช้โปรโทรศัพท์ของค่ายโทรศัพท์ค่ายหนึ่งมาซักระยะ และรู้สึกว่าโปรนี้แพงเหลือเกินจึงมีการขอย้ายค่ายโทรศัพท์เพื่อเปลี่ยนโปรโทรใหม่ที่ถูกลง เป็นการย้ายค่ายแต่เบอร์เดิมนั่นเอง สรุปง่ายๆ การรีไฟแนนซ์มีขึ้นเพื่อประหยัดดอกเบี้ยในการชำระหนี้นั่นเอง
สำหรับบ้านการรีไฟแนนซ์ สามารถทำได้เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี เพราะสำหรับ โดยการรีไฟแนนซ์ทุกครั้งจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้ามาด้วย
สำหรับรถยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่เราสามารถรีไฟแนนซ์ได้เช่นกัน สำหรับการรีไฟแนนซ์รถยนต์จะเริ่มกระบวนการได้ก็ต่อเมื่อคุณได้มีการผ่อนชำระค่างวดมาแล้วอย่างน้อย 50% ของค่างวดทั้งหมดหรือผ่อนชำระมาแล้วเกินครึ่งของสัญญาของบริษัทไฟแนนซ์เดิม
นอกจากนี้ถ้าคุณมีสัญญาณเหล่านี้คุณก็ควรที่จะรีไฟแนนซ์รถยนต์ได้แล้ว เช่น เริ่มหมุนเงินไม่ทันใช้ เริ่มเกิดการค้างจ่ายค่างวดซึ่งในกรณีนี้ถ้ายังปล่อยให้ยืดเยื้อก็อาจจะโดนยึดรถได้ ดังนั้นอยากรีไฟแนนซ์รถยนต์ก็รีบหาแหล่งรีไฟแนนซ์ที่น่าสนใจได้เลยซึ่งบางที่ก็ไม่เช็คเครดิตบูโรก็มีหรือหากมีค้างค่างวดอยู่ก็มีบางที่จะมีการปิดบัญชีให้ด้วย
ไม่เพียงแต่รถยนต์เท่านั้นที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไฟแนนซ์ได้ รถมอเตอร์ไซค์ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเรามักเรียกว่าสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์หรือเป็นการใช้เล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อ แต่เนื่องจากปัจจุบันการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักหากเทียบการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ประเภทบิ๊กไบค์เป็นหลัก
ในส่วนของการรีไฟแนนซ์ที่ไหนดี แต่ละคนก็จะต้องพิจารณาด้วยตัวเอง โดยมีสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาเสมอคือ จะต้องดูอัตราดอกเบี้ยของแต่ละไฟแนนซ์ก่อนว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยออกมาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ สูงเกินไปหรือไม่ ส่วนต่อมาก็ควรจะมีการตรวจสอบบริษัทหรือสถาบันการเงินนั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดซึ่งสามารถเช็คข้อมูลได้ทางออนไลน์ในหน้าเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทดังกล่าวจะอนุมัติไวหรือช้าเพียงใดเพื่อจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาหลังจากมีการยื่นเรื่อง ทั้งนี้ควรตรวจเช็คถึงประวัติเครดิตบูโรของตัวผู้ขอรีไฟแนนซ์เองว่ามีประวัติเป็นอย่างไรเพราะบางบริษัทจะมีการตรวจสอบเครดิตบูโรด้วยโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร ในส่วนสุดท้ายที่จะขาดไม่ได้คืออย่าลืมตรวจสอบความคุ้มค่าของการรีไฟแนนซ์ด้วยว่าหลังจากเสร็จสิ้นการรีไฟแนนซ์แล้วค่างวดที่ได้มาต้องชำระมากกว่าเดิมหรือไม่ หรือหากทำแล้วสามารถยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปได้แล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ เป็นต้น
ส่วนดีของการการรีไฟแนนซ์หลักๆ เลย คือจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไปมากกว่าเดิม และข้อดีในส่วนต่อมาก็คือเราจะได้ยืดระยะเวลาในการชำระหนี้นานขึ้นทำให้คนที่กำลังหมุนเงินไม่ทันได้มีเวลาหายใจหายคอไม่ถึงกับถูกยึดรถ (ในกรณีที่เกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์รถยนต์ หากเป็นการยึดบ้านก็จะเกี่ยวกับสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน)
สำหรับข้อเสียของการรีไฟแนนซ์ในกรณีที่ของรีไฟแนนซ์บ้าน ในบางครั้งก็ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าราคาประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ ค่าธรรมเนียมการปล่อยกู้ใหม่ ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าทำประกัน ดังนั้นในการรีไฟแนนซ์จะต้องมีการคิดอย่างรอบคอบว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากับดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่จะลดลงเมื่อหักลบกลบหนี้ดูแล้วคุ้มหรือไม่